วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความรู้การใช้ยารักษาโรค

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แม้ว่าในปัจจุบันวิทยาการจะเจริญก้าวหน้าไปมาก และมีจำนวนแพทย์เพิ่มมากขึ้นก็ตาม เมื่อถึงยามเจ็บไข้ได้ป่วย ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงช่วยเหลือตนเอง โดยการซื้อยาจากร้านขายยามารับประทาน อย่างไรก็ตามในการใช้ยาทุกครั้งสิ่งที่สำคัญคือต้องใช้ให้ถูกต้อง และสิ่งที่จะทำให้เราใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ก็คือฉลากยาและเอกสารกำกับยา เพราะจะทำให้รู้ว่า เป็นยาอะไรใช้อย่างไร มีสรรพคุณรักษาอะไรและมี คำเตือน อย่างไรบ้าง รวมถึงข้อมูลอื่นที่อยู่บนฉลากและเอกสารกำกับยา เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ดังจะกล่าวต่อไปนี้

การแสดงฉลากยาและเอกสารกำกับยา ตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ พ.. 2510 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ต้องจัดให้มีฉลากตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ ปิดไว้ที่ภาชนะและหีบห่อ บรรจุยาหรือฉลากเอกสารกำกับยา โดยแสดงรายละเอียดดังนี้

1. ชื่อยา เช่น นูตา ดาก้า ปวดหาย เป็นต้น

2. เลขทะเบียนตำรับยา มักจะมีคำว่า Reg.No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา แล้วตามด้วยเลขทะเบียน เช่น 1A 12/35 ซึ่งมีความหมายดังนี้

ตัวเลขหน้าตัวอักษร แสดงถึงจำนวนตัวยาสำคัญในตำรับยานั้น ถ้า

เลข 1 จะมีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว

เลข 2 จะมีตัวยาออกฤทธิ์ตั้งแต่ 2 ตัวข้นไป

ตัวอักษรภาษาอังกฤษแสดงถึงประเภทของยาดังตาราง

ยาแผนปัจจุบัน

ยาสำหรับสัตว์

ยาแผนโบราณ

แบ่งตามสถานที่ผลิต

A

D

G

ยาผลิตในประเทศ

B

E

H

ยานำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศแล้วนำมาทำการแบ่งบรรจุในประเทศ

C

F

K

ยานำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ

ส่วนตัวเลขต่อจากภาษาอังกฤษแสดงถึงเลขลำดับที่ที่ได้รับอนุญาติให้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และทับเขท้ายของ ปี พ.ศ.

3. ปริมาณหรือขนาดบรรจุของยา เช่น ยาเม็ด จะต้องแจ้งบรรจุไว้ในฉลากด้วยว่ายานั้นบรรจุกี่เม็ด

4. เลขที่ หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น

Lot No., Cont.No., Batch No. หรือ L,C,L/C,B/C แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต

5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ยาที่ผลิตในประเทศต้องมีชื่อผู้ผลิตจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยาด้วย ในกรณที่เป็นยาผลิตในประเทศนำหรือสั่งเข้ามาต้องมีชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยา พร้อมทั้งชื่อของผู้นำหรือสั่งเข้ามาและจังหวัดที่ตั้งสถานที่นำ/สั่งยานั้น ๆ

6. วันเดือนปีที่ผลิตยา มักมีคำย่อภาษาอังกฤษ Mfd. หรือ Mfg date. แล้วตามด้วยวันเกือบปีที่ผลิต หากยานั้นผลิตมานานเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมารับประทาน ส่วนยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะจะมีการระบุวันที่หมดอายุ โดยมีคำย่อว่า Exp.Date ซึ่งย่อมากจาก Expiration Data แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ยานั้นหมดอายุ

7. คำว่า ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ” “ยาใช้เฉพาะที่หรือ ยาใช้ทาภายนอก แล้วแต่กรณีว่ายานั้นเป็นยาประเภทใด กรณียาควบคุมพิเศษ จะจ่ายตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น กรณียาอันตราย หากใช้ไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและระยะเวลา อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เพราะฉะนั้นควรใช่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งประเภทของยานี้จะเขียนด้วยตัวอักษรสีแดงอ่านได้ชัดเจน

8. วิธีใช้และคำเตือน การจัดให้มีคำเตือนไว้บนฉลากและเอกสารกำกับยานั้น ใช้สำหรับยาที่รัฐมนตรีประกาศ หรือกรณีที่กฎหมายบังคับ

สำหรับสหัสวรรษใหม่ที่กำลังจะมาถึง จะเป็นยุคของผู้บริโภคที่จะมีอิสระมากขึ้น ในการเลือกบริโภค ซึ่งรวมถึง การบริโภคยาด้วย นั่นคือ ยาบางตัวอาจจะมีวางขายตามร้านค้าทั่ว ๆ ไป หาซื้อได้ง่าย แต่….เพื่อประโยชน์สูงสุด ปลอดภัยมากที่สุดต่อตัวท่านเอง และคนรบข้างท่านควรจะมีความรู้เรื่องฉลากยา และเอกสารกำกับยาให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น