ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาวะอากาศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ประกอบกับปรากฏการณ์ เอลนีโญขนาดปานกลางซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี พ .ศ 2552 และจะสิ้นสุดประมาณเดือนมิถุนายน2553 (แต่เมื่อเทียบ ความรุนแรงจะน้อยกว่าปีที่เคยมีการบันทึกไว้ เช่น พ .ศ. 2525-2526, 2533-2536, 2540-2541)* ได้ส่งผลให้ในช่วงฤดู แล้ง พ.ศ. 2553 (มกราคม-เมษายน) ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดในรอบทศวรรษ (ค.ศ. 2000-2010 : พ.ศ. 2543 - 2553) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติ ประมาณ 1.2 องศาเซลเซียส แต่เมื่อพิจารณาตั้งแต่มีการบันทึก ข้อมูล (พ.ศ. 2494 ) ปรากฏว่าสูงเป็นอันดับสองรองจากปี พ.ศ. 2541 (พ.ศ. 2541 ปรากกฏการณ์เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก) โดยอุณหภูมิสูงกว่าปกติประมาณ 1.8 องศาเซลเซียส (สาหรับ ปี พ .ศ. 2552 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยต่ากว่าค่าปกติ 0.2 องศาเซลเซียส)
อย่างไรก็ตามในปีนี้ พ.ศ. 2553 ประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนเมษายนมีอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องมากกว่า 10 วัน เช่น จ. แม่ฮ่องสอน น่าน ลาพูน ลาปาง แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ เลย เป็นต้น และหลายพื้นที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา อีกทั้งมีฝนตก น้อยกว่าปกติ
ถึงแม้ว่า ในปีนี้ พ.ศ. 2553 ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะต่ากว่าปี พ .ศ. 2541 แต่คาดว่า ในปีนี้อุณหภูมิสูงสุดจะยังคงสูงกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคมถึงกรกฏาคม) ซึ่ง คาดว่าปริมาณฝน จะต่ากว่าปกติ และจานวนวันฝนตกจะน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม เป็นไปได้ว่าจะมีอากาศร้อนอบอ้าวมาก อาจทาให้ในปีนี้ พ .ศ. 2553 เป็นปี ที่มีอากาศร้อนที่สุดตั้ งแต่มีการบันทึก ข้อมูลมา อย่างไรก็ตามสภาพอากาศโดยทั่วไปคาดว่าจะดีขึ้น รวมทั้งปริมาณฝนจะมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของฤดูฝน 2553 (เดือนสิงหาคม-ตุลาคม)
10 อันดับปีที่มีอากาศร้อนที่สุด (อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยสูงกว่าปกติ)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2494-2552 อันดับ | พ.ศ. | อุณหภูมิสูงสุดสูงกว่าค่าปกติ |
1 | 2541 | 1.27 |
2 | 2540 | 0.58 |
3 | 2547 | 0.53 |
4 | 2548 | 0.51 |
5 | 2546 | 0.48 |
6 | 2534 | 0.47 |
7 | 2549 | 0.45 |
8 | 2545 | 0.43 |
9 | 2522 | 0.41 |
10 | 2552 | 0.40 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น