วันนี้ เรามีคำตอบ มาช่วยให้ทุกท่านไม่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในวงการไซเบอร์ และฉลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วยค่ะ
1. ผู้บริโภคจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าชนิดนี้ดีจริงเหมือนที่โฆษณา ? คำตอบง่ายๆ คือ ไม่มีใครตอบได้ว่าสินค้านั้นดีจริง จนกว่าจะได้ลองใช้ด้วยตนเองค่ะ เพราะผิวหน้าของแต่ละคนแตกต่างกัน เพื่อนเราใช้ดี เรามาใช้ตามเพื่อนอาจไม่ดีแบบที่เพื่อนบอกก็ได้ ยี่ห้อที่เพื่อนแพ้เรามาใช้งานอาจหน้าเด้งไปเลยก็มี ดังนั้น ความคาดหวังว่าจะใช้ให้เห็นผลดี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพผิวหน้าของแต่ละคน การใช้ครีมอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง พึงระลึกอยู่เสมอว่า เครื่องสำอางที่ดี คนขายที่มีจรรยาบรรณจะไม่ใช้คำทำนองว่า “หน้าขาวใน7วัน” , “รักษาสิว ฝ้า หายขาด” ,“เปลี่ยนสีผิวถาวร” , “ได้ผล100 %” เนื่องจากเป็นลักษณะต้องห้ามประกาศโฆษณาของทาง อย.มีความผิดตามกฏหมาย เพราะเครื่องสำอางไม่ใช่ยาจึงไม่มีผลในการรักษา และในกรณีเปลี่ยนสีผิวก็ไม่เป็นความจริงเพราะพื้นฐานผิวคนเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงเมลานินที่มาแต่กำเนิดได้ โฆษณาดังกล่าวจึงเข้าข่ายหลอกลวง
2. ซื้อของทางอินเตอร์เนตจะได้ของจริงหรือเปล่า? จะมั่นใจได้อย่างไรว่าไม่ถูกหลอก?
ปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่ใช้ช่องทางทางอินเตอร์เนตในการหลอกลวงอยู่มาก เราจะพบเห็นข่าวได้บ่อยๆ ว่ามีผู้ถูกหลอกให้ซื้อสินค้าทางอินเตอร์เนต เมื่อโอนสตางค์เสร็จกลับไม่ได้ของที่สั่งซื้อ โทรตามติดต่อไม่ได้ ปิดเว็บหนีไป หรืออาจได้ของที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ตรงกับที่ตกลงไว้ แล้วไม่รู้จะตามหาคนขายที่ไหน สิ่งที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อได้ คือ
2.1 ให้ดูความน่าเชื่อถือว่าเว็บไซท์นั้นมีคนเข้ามาใช้งานนานหรือยัง ดูจำนวนคนเข้า วันที่เปิดใช้งานที่หน้าแรก (เว็บไซท์ขายของออนไลน์มาตรฐานทั่วไปจะมีข้อมูลเหล่านี้แสดงอยู่) บางเว็บไซท์มีรูปผู้ใช้งานจริง มีการถามตอบอัพเดทตลอดทุกวัน ก็แสดงถึงความนิยมของผู้ใช้งานและความใส่ใจจากคนขาย หากเป็นเว็บที่ไม่มีการอัพเดทข้อมูล ข้อมูลที่อัพเดทล่าสุดแสดงไว้เมื่อหลายเดือนก่อนก็ให้สันนิษฐานว่าไม่มีการดูแลจากเจ้าของเว็บหรือคนขายไซท์เลย ( แต่ก็อย่าประมาทนะจ๊ะ เพราะมีโปรแกรมเปลี่ยนตัวเลขจำนวนคนเข้าให้ดูเยอะๆน่าเชื่อถือได้เหมือนกัน)
2.2 ปัจจุบันเว็บไซท์ที่ทำการค้าจดทะเบียน ขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือต้องลงทะเบียนเปิดเผยข้อมูลตัวตนในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อาจสังเกตที่เครื่องหมายถูก trust ที่ปรากฏอยู่ที่หน้าเว็บไซท์ หรืออาจลองสอบถามข้อมูลว่าคนขายนั้นมีการจดทะเบียนการค้าพาณิชย์ถูกต้องหรือไม่ ขอดูเอกสารราชการผ่านทางอีเมลเพราะหากเขามีความจริงใจแก่ผู้บริโภคก็จะจดทะเบียนแสดงข้อมูลตัวตนได้ และไม่กลัวที่จะแสดงเอกสารให้คุณทราบ หรืออาจสอบถามว่ามีการจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ เพราะผู้ขายที่มุ่งทำการค้าอย่างจริงจัง มีที่อยู่หลักแหล่งเชื่อถือได้แน่นอน จะจดทะเบียนบริษัท ทำให้ผู้ซื้อมั่นใจในกรณีที่ต้องการสอบถามปัญหาการใช้งานก็สามารถติดตามได้ไม่ยาก หากเว็บไซท์ใดไม่ลงชื่อที่อยู่บริษัท หรือที่อยู่ประกอบการเลย มีแต่เบอร์มือถือก็สันนิษฐานได้ว่าอาจไม่มีตัวตนอยู่จริง และไม่มีความจริงใจในการเปิดเผยแหล่งที่อยู่ของตน 2.3สินค้าที่อ้างว่าใช้ดี เห็นผลไว เป็นคนละเรื่องกับการมี อย. ถามคนขายเลยค่ะว่ามี อย ไหม เครื่องสำอางทุกตัวแม้แต่ส่วนผสมสมุนไพรก็ต้องมี อย.ค่ะ ให้ตรวจสอบก่อนทุกครั้งว่าสินค้าผ่านการจดแจ้ง มีเลขทะเบียน อย จริงหรือไม่ เข้าไปดูตัวอย่างวิธีค้นว่าเครื่องสำอางไหนที่ได้รับอย.จากเว็บไซท์ของ อย.เอง ได้ที่ http://www.fujicream.com/customize-ความมั่นใจกับฟูจิ(full)-87826-1.html เพื่อความแน่ใจ เชื่อตัวเอง เชื่อ อย. อย่าเชื่อโฆษณาหรือบุคคลกล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐานค่ะ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น